นท้องตลาดมีมาตรฐานความปลอดภัยของผักมากมาย ได้แก่ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ผักไร้สารพิษ ผักไฮโดรโปรนิกส์ หรือ ผักอินทรีย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคสับสนถึงความแตกต่างระหว่างมาตรฐานต่างๆ จึงเรียกเหมารวมๆ ว่าเป็นผักปลอดภัยซึ่งฟังดูผิวเผินอาจเข้าใจว่าเป็นผักที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการปลูกเลย ในความเป็นจริงแล้วจะมีเพียงมาตรฐานผักอินทรีย์เท่านั้นที่ไม่ได้มีการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีใดๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต เราลองมาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างมาตรฐานความปลอดภัยของผักชนิดต่างๆ

การแบ่งประเภทของหลักการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดจากสารพิษ

ดังนั้นเมื่อเราเปรียบเทียความปลอดภัยโดยยึดจากความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีเป็นที่ตั้งแล้ว เราสามารถสรุปได้ว่า ผักอินทรีย์นั้นมีความปลอดภัยมากที่สุดเนื่องจากไม่มีขั้นตอนใดเลยที่ผักจะมีโอกาสสัมผัสกับสารเคมี รองลงมาจะเป็นผักปลอดภัยซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีอยู่จะควบคุมในปริมาณจำกัด และสุดท้ายคือผักเคมีซึ่งใช้ยาตามความพอใจของผู้ปลูกซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก

สัญลักษณ์ของประเภทผักแต่ละประเภท


 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยกรมวิชาการเกษตร (หน่วยราชการ)

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยกรมวิชาการเกษตร (หน่วยราชการ) กรมวิชาการเกษตร อาคาร สวป. ( ตึก 8 ชั้น ) 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร/โทรสาร 02-5797520
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยสำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (หน่วยงานเอกชน)

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยสำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (หน่วยงานเอกชน) 801/21 ถ.งามวงค์วาน ซอย 27 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-952 6677 และ 02-580 0934


มาตรฐานอาหารปลอดภัย

มาตรฐานอาหารปลอดภัย Q กรมวิชาการเกษตร

 

มาตรฐานอาหารปลอดภัย Q กรมวิชาการเกษตร อาคาร สวป. ( ตึก 8 ชั้น ) 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร/โทรสาร 02-5797520

จากการสำรวจสินค้าการเกษตรในตลาดในประเทศไทยโดยกรีนเนท ในช่วงกลางปี 2554 พบว่ามีการใช้ตรารับรองผลผลิตเกษตรทั้งหมด 12 ตรารับรอง ดังนี้

ตรารับรอง มาตรฐาน หน่วยรับรอง
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่ตั้งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เป็นหน่วยงานของมูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นองค์กรของภาคเอกชนไทย
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่จัดทำขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ(มอน.) เป็นองค์กรเอกชน ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และให้บริการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เฉพาะในภาคเหนือ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันพืชอินทรีย์ (กรมวิชาการเกษตร) ศูนย์ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอินทรีย์ (กรมประมง) และกรมปศุสัตว์
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่จัดทำโดยแผนงานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (National Organic Program – NOP) กระทรวงเกษตรสหรัฐ มีหน่วยงานหลายแห่งที่สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานนี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยตรวจรับรองต่างประเทศ  ในประเทศไทย มีเพียง มกท. แห่งเดียว ที่สามารถให้บริการตรวจรับรองตามมาตรฐานนี้ได้
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป(โลโก้บน เป็นโลโก้เดิม ที่กำลังจะเลิกใช้  ส่วนโลโก้ล่าง เป็นโลโก้ใหม่) มีหน่วยงานหลายแห่งที่สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานนี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยตรวจรับรองต่างประเทศ  ในประเทศไทย มีเพียง มกท. แห่งเดียว ที่สามารถให้บริการตรวจรับรองตามมาตรฐานนี้ได้
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Bio AgriCert ฺBio AgriCert เป็นหน่วยงานรับรองเอกชนของประเทศอิตาลี ซึ่งผู้ผลิตจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานนี้เท่านั้นจึงจะใช้ตรารับรองมาตรฐานี้ได้
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Eco Cert เป็นหน่วยงานรับรองเอกชนของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งผู้ผลิตจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานนี้เท่านั้นจึงจะใช้ตรารับรองมาตรฐานี้ได้
มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการกำกับดูแลของสำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
มาตรฐานผักและผลไม้ปลอดภัยจากสารพิษ หรือ “อนามัย” ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรฐานสำหรับการรับรองระบบตรวจสอบสารพิษตกค้าง ในผักสด/ผลไม้สด ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารแบบหนึ่ง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 


แหล่งข้อมูล :