ระวัติมันเทศ

มันเทศ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ค้นพบโดยโคลัมบัส ที่เกาะไฮติ อเมริกากลาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2035 หรือประมาณ 500 ปีเศษที่ผ่านมา และจากประวัติศาสตร์มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าคนในยุโรปส่วนใหญ่จะรู้จักมันเทศ ก่อนมันฝรั่งด้วยซ้ำไป คนอังกฤษกินมันเทศตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีตำนานเล่าขานกันว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 กินมันเทศอบพายทุกวัน ในฐานะอาหารกามเพื่อหวังจะให้ชีวิตรักของพระองค์ดีขึ้น”

มันเทศมีปลูกในอเมริกากลางมา ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันก็ยังเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของชาวแคริบเบียนและสหรัฐอเมริกาตอน ใต้ ในทวีปเอเชียก็พบประวัติการปลูกมันเทศมายาวนานไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในหมู่ชาวโพลินิเซียนในหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น เกาะตาฮิติ ฟิจิ รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มันเทศเป็นหนึ่งในอาหารและพืชพันธุ์ที่มาพร้อมกับเรือพ่อค้าฝรั่งในศตวรรษ ที่ 16-17 ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง มันเทศได้กลายเป็นอาหารหลักที่สำคัญของคนจีนในสมัยนั้น

ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการมันเทศมีสูงกว่ามันฝรั่งด้วยซ้ำไป ในเนื้อมันเทศนอกจากจะมีปริมาณแป้งสูงแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมาก มันเทศเนื้อสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงไม่แพ้แครอตและสาหร่ายทะเล ในขณะที่มันเทศเนื้อสีม่วงจะมีสารแอนโทไซยานินสูง (Anthocyanin) สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ และยังทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษและช่วยชะลอความแก่ชราได้)

ซึ่ง สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา และพบว่าสารชนิดนี้ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ในธรรมชาติผักและผลไม้ที่มีสารแอนโทไซยานินมากมักจะสีม่วง เช่นองุ่นแดง บลูเบอรี่ ฯลฯ สำหรับพืชหัวจะมีมากในหัวมันเทศเนื้อสีม่วง

โดยเฉพาะมันเทศเนื้อสีม่วงจากประเทศญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ได้เนื้อมันเทศที่มีสีม่วงเข้มตลอดทั้งหัว มันเทศ เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชั้นดีที่ให้พลังงานโดยไม่ก่อพิษต่อร่างกายแบบอาหารแปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่น ๆ ส่วนใบและยอดอ่อนของมันเทศ (Sweet potato) สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ และยังมีวิตามินเอ วิตามินซี สารอาหารลูทิน (Lutein) ที่ช่วยบำรุงสายตา ผัดยอดมันเทศเป็นอาหารที่คนมาเลเซียรับประทานกันเป็นประจำ ส่วนมันเทศเนื้อสีส้มมีสารเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยลดอัตราการกลายพันธ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง การนำยอดมันเทศมาปรุงอาหารพบว่ามีในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีด้วย ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของมันเทศมีสูงกว่ามันฝรั่งด้วยซ้ำไป ในเนื้อมันเทศนอกจากจะมีปริมาณแป้งสูงแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมาก มันเทศเนื้อสีส้ม จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงไม่แพ้แครอทและสาหร่ายทะเล ในขณะที่มันเทศเนื้อสีม่วงจะมี

สารแอนโทไซยานินสูง สารแอนโทไซยานินจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ และยังทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษและช่วยชะลอความแก่ชราได้มีข้อมูลว่าในบางประเทศมีการใช้เนื้อมันเทศสีม่วงเป็นคาร์โบไฮเดรตแทนข้าวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่าทำไมในปัจจุบันมันเทศเนื้อสีม่วงที่มีวางขายในทั่วโลกจึงมีราคาค่อนข้างแพง ขายถึงผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100

คุณค่าอาหารในมันเทศประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ (สูงมาก) วิตามินบี1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน โฟเลต วิตามินซี สารเริ่มต้นขิงแคโรทีน และเบต้าแคโรทีน  เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชั้นดีที่ให้พลังงาน โดยไม่ก่อพิษต่อร่างกายแบบอาหารที่แปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่นๆ นอกจากนี้มันเทศยังมีส่วนช่วยบำรุงสายตา เสรมสร้างระบบคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแกร่ง ลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆทั้งน้อยและใหญ่ รวมทั้งมะเร็ง

และมันเทศยังมีฤทธิ์เย็น รสหวาน มีสรรพคุณแก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหารแก้กระหาย ปรับสภาพเลือด บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงกระเพาะ เลือด ม้าม ป้องกันโรคต้อกระจก ตาบอดกลางคืน รักษาเบาหวาน โรคดีซ่าน โรคหัวใจและมะเร็ง ส่วนใบของมันเทศ ก็ยังช่วยแก้แผลไฟไหม้ แก้ผื่นคัน ตุ่มพุพอง

 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง