ด้วยความที่เป็นคนชอบปลูกผักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และสิ่งที่ได้ตามมาจากการปลูก คือได้ทั้งเรื่องความสวยงามของบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของตัวเอง และผักที่เราปลูกยังสามารถเอามาทำอาหาร ช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงทำให้พี่อัมพร หรือน้ารุณ ของหลานๆ ชอบที่จะเอาอะไรมาหว่านลงแปลง หยิบจับกล้าพืชผักต่างๆมาปลูกในพื้นที่ว่างบริเวณหน้าบ้านอยู่เสมอๆ
ผลผลิตจากการชอบปลูกของพี่เค้า ส่งผลให้สามารถที่จะเก็บผักสวนครัว เอาไปทำอาหารได้ทุกวัน ลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวได้มากเลยทีเดียว โครงการฯนี้ นอกจากจะมาช่วยกันสร้างความมั่นคงอาหารภายในชุมชนแล้ว เรายังมาร่วมด้วยช่วยกันส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีสุขภาวะทางด้านการกินอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งอีกด้วย
ไว้คอยติดตามกันว่าหลังจากจบโครงการฯนี้ แปลงปลูกน้ารุณ จะมีอะไรมาเพิ่มเติมอีกบ้าง คงต้องคอยติดตามกันต่อไปครับ :)
นางอัมพร โปธา
พืชผักที่ปลูกในแปลง ก่อนเข้าร่วมโครงการ
- งา
- ซาโยเต้ (มะเขือเครือ)
- กระชาย
- พริกขี้หนู
- ผักกาดเขียว
- กระเพราแดง
- กระเพราเขียว
- ดอกเก็กฮวย
- ชะพลู
- ชะอม
- ข้าวโพดพื้นเมือง (ข้าวโพดสาลี)
- มะเขือเปราะ
- มะระขี้นก
- ตะไคร้
- ฟ้าทะลายโจร
- ใบฮ่อม
- ถั่วเหลือง
- ฝรั่งพื้นเมือง
งาดำ มีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่ และมีวิตามินแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย
งาดำ (Black sesame seeds) เป็นพืชที่มีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ สามารถรับประทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องได้ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และหากรับประทานเป็นประจำ ร่างกายก็จะแข็งแรงมากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทาน ภายในงาดำเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย เช่น วิตามินบีรวม แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส สังกะสี เหล็ก เป็นต้น งาดำยังช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายในทุกส่วน และยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทองได้อีกด้วย
ซาโยเต้ ผัดซาโยเต้ไฟแดง จัดว่าเป็นเมนูเด็ด
ซาโยเต้ หรือ ฟักแม้ว ,มะเขือเครือ เป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย แคลเซียม วิตามินซี และฟอสฟอรัส สามารถบริโภคได้ทั้งยอดและผล ปลูกเลี้ยงง่าย สภาพแวดล้อม ฟักแม้วเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญ เติบโต ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ถ้าต้องการให้ผลผลิตออกมาต่อเนื่องตลอดทั้งปี
กะเพราแดง ประโยนช์มากมาย ทำอาหารและมีสรรพคุณทางยา
สรรพคุณ: ตำรายาไทย: ใช้ใบและยอดกะเพราะ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน
ตำรายาไทยระบุว่า “กะเพราะทั้ง 2” (กะเพราะขาว-กะเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า โบราณใช้น้ำคั้นใบกะเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกะเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ