ข่าวน่าเศร้าประจำปี ! ผลผลิตผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับตรารับรอง Organic Thailand โดยกระทรวงเกษตรฯ พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 25% ในขณะที่ผัก Q ซึ่งควบคุมดูแลโดยหน่วยงานของรัฐหน่วยงานเดียวกันพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 57 % มากที่สุดในบรรดาผักและผลไม้ที่ถูกสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกแหล่ง
ผลการตรวจนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) หรือ โดยหน่วยงานรับรองอื่นที่ไม่ใช่ข้าราชการจะเป็นแบบเดียวกันกับผลที่สุ่มตรวจด้านบน

การสำรวจในหลายประเทศทั่วโลก การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ปลอดภัยกว่าทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ผลการตรวจนี้บ่งชี้ว่ามาตรฐานและตรารับรอง ตลอดจนกระบวนการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำเป็นต้องยกเครื่องใหญ่ทั้งระบบ และปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรเป็นวาระระดับชาติได้แล้ว

หมายเหตุ : Thai-PAN สุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภค เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง จำนวน 138 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่และอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2559 และจัดส่งไปวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างแบบ Multi Residue Pesticide Screen (MRPS) ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างได้กว่า 450 ชนิด ที่ห้องปฏิบัติการในประเทศอังกฤษที่ได้รับรอง ISO/IEC 17025:2005 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจหาสารเคมีตกค้างที่ครอบคลุมชนิดสารมากที่สุดที่มีการเปิดเผยต่อประชาชน

กินผัก-ผลไม้ อิ่มสารอาหารหรือสารพิษ ?!

 

pesticide_doc21_poster_posion

ดาวน์โหลด โปสเตอร์จาก Thai Pan

แหล่งข้อมูลที่มา :