กิจกรรมที่ 1 | การจัดประชุมตั้งคณะทำงานในชุมชน  เมื่อโครงการผ่านการอนุมัติโครงการแล้ว เราจึงเริ่มกิจกรรมที่ 1 โดยทันที โดยการทำความเข้าใจร่วมกัน ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน และมีจุดเน้นอะไรบ้างของโครงการนี้

 

โครงการการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ชุมชนบ้านแม่สาบ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ นี้ได้ความร่วมมือจากผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี โดยโครงการนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก พ่อกำนันสุเวช สาธุเม มาเป็นที่ปรึกษาโครงการให้ ซึ่งได้รับข้อแนะนำมากมายจากท่าน  เช่นเรื่องของการประชาสัมพันธ์โครงการ  เพื่อให้ชาวบ้านรับทราบของโครงการนี้ ผ่านการประชุมหมู่บ้าน และการแนะนำการดำเนินโครงการจากกลุ่มชาวบ้านที่สนใจเรื่องการปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือนก่อน เพื่อให้เกิดเป็นครอบครัวนำร่อง เพื่อให้เกิดเป็นตัวอย่างในชุมชน และสามารถขยายผลต่อไปได้โดยง่าย

สรุปบันทึกการประชุมโครงการการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน
ชุมชนบ้านแม่สาบ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ครั้งที่ 1  วันที่ 15 กรกฎาคม 2561

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นายสุเวช สาธุเม (ที่ปรีกษาโครงการ)
2. นายนที มูลแก้ว (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
3. นางอรัญญา มูลแก้ว (ผู้ร่วมทำโครงการ)
4. นายอนุรักษ์ ขัตติมะ (ประชาสัมพันธ์)
5. นางสมพร สิมะวงค์ (การเงิน เหรัญญิก)

สถานที่ บ้านพ่อกำนันสุเวช ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง เชียงใหม่
เริ่มประชุม 19.30 น.
วาระการประชุม
1. วาระที่ 1 แจ้งที่มาที่ไปของโครงการการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน
1.1. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1.1.1. (จุดเน้น) ครัวเรือนมีการปลูกผักเพื่อบริโภคโดยไม่ใช้สารเคมี
1.1.2. ความคาดหวังเมื่อจบโครงการฯ
1.1.2.1. ชาวบ้านตระหนักเรื่องสารเคมีในผักผลไม้ ว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพตัวเอง
1.1.2.2. ลดค่าใช้จ่ายเรื่องการซื้อผักในครัวเรือน โดยใช้ผักที่ตัวเองปลูก วัดผลได้จริง หลังจบโครงการ
1.1.2.3. ต่อยอดสู่บันไดขั้นก้าวหน้า ปลูกกินแล้วเหลือ นำไปสู่การแบ่งปันและขาย เพื่อเพิ่มรายได้เศรฐกิจในครัวเรือน
2. วาระที่ 2 ช่วยกันสรรหาคณะกรรมการทำงานโครงการ
3. วาระที่ 3 ชี้แจงรายละเอียดของทุนสนับสนุนของโครงการฯ (จำนวน 63,000บาท)
3.1. การทำงานและทุนสนับสนุน เบิกจ่ายตามกิจกรรมบันไดผลลัพธ์ (จำนวน 50,000บาท)
3.2. ทุนสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงาน (จำนวน 13,000บาท)
4. วาระที่ 4 แจ้งแผนการทำงานในพื้นที่ชุมชน
5. วาระที่ 5 แจ้งเพื่อทราบ
5.1. เรื่องสื่อออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์โครการฯ เช่น เว็บไซต์ แฟนเพจ
5.2. เรื่องการสื่อสารภายในกลุ่มคณะทำงาน ไลน์กลุ่ม

สรุปรายละเอียดประเด็นที่หารือกัน และหัวข้อเพิ่มเติมอื่นๆ

1. คณะทำงานโครงการฯ ทางต่อ จะอาสาเป็นคนหลักในการสรรหาคณะทำงานฯ โดยจะพิจาณาจากความมีจิตอาสาในการทำงานโครงการฯเป็นหลัก
2. คนที่จะเข้าร่วมโครงการ คณะทำงานจะช่วยกันสรรหาเป็นอันดับแรก ให้ครบ 50 ครัวเรือนก่อน หลังจากนั้นค่อยประกาศรับสมัครทางประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน เพราะเป็นโครงการนำร่อง ถ้าบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะได้ง่ายต่อการต่อยอดและขยายผลเพิ่มในอนาคต
3. ชนิดพืชผักสวนครัวที่จะส่งเสริมให้ปลูก ควรที่จะมีชนิดผักให้เลือกปลูกได้เลย ไม่ต้องให้ชาวบ้านเลือกปลูกเอง เพราะจะได้ง่ายต่อการทำงาน
4. เมื่อโครงการเริ่ม ชนิดผักต่างๆ อาจจะใช้การแลกเปลี่ยน แบ่งปันต้นพันธุ์ เมล็ดพันธุ์กันภายในสมาชิก เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผักที่จะปลูกมากยิ่งขึ้น
5. ก่อนเริ่มโครงการ สำรวจทำรายละเอียดชัดเจน ว่าแต่ละครัวเรือนใครปลูกอะไรแล้วบ้าง และมีความต้องการปลูกอะไรเพิ่มเติมอีก เพื่อง่ายต่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนต้นพันธุ์ เมล็ดภายในกลุ่ม

ปิดประชุม 21.00 น.
ผู้บันทึกการประชุม นที มูลแก้ว