จากที่มีโอกาสได้ไปเรียนรู้จากหลากหลายศูนย์เรียนรู้ สิ่งหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่แต่ละศูนย์เรียนรู้บอกหัวใจการทำเกษตรอินทรีย์ ก็คือการปรุงดิน หากเราเตรียมดินได้ดี ถือได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะดินถือว่าเป็นพื้นฐานของการเติบโตของต้นกล้า
ดินดีเป็นอย่างไร หลายๆคนคงมีคำถามอยู่ในใจ เพราะใครๆก็มักจะบอกว่าปลูกพืชต้องมีการเตรียมดิน ดินดีในที่นี้คือดินที่มีชีวิต และการที่จะทำให้ดินมีชีวิตได้นั้น จำเป็นจะต้องอาศัยจุลินทรีย์ต่างๆ มาช่วยทำให้ดินมีชีวิต ซึ่งจุลินทรีย์มีหลากหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แอคติโมมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว ไมโครพลาสมา โรติเฟอร์ และ ไวรัส เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์มีมากมายดังนี้
- จุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การเป็นประโยชน์และการเกิดโรค จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็น สาเหตุของการเกิดโรคพืชและสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร แต่ใน ขณะเดียวกันความหลากหลายในธรรมชาติก็จะมีจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ ป้องกัน กำจัด และยับยั้ง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชด้วยเช่นกัน
- จุลินทรีย์มีความสำคัญในการหมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติให้ใช้ประโชน์ได้ ใหม่ในวัฏจักรของ ธาตุอาหารโดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุสารอินทรีย์ ต่างๆ ให้เป็นธาตุอาหาร เกิดการ หมุนเวียนธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ของสารอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษอาหาร เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมทางการเกษตร ให้กลับมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยผ่าน กระบวนการย่อยสลาย หรือสังเคราะห์สารชนิดอื่น เช่นกระบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ในดินให้อยู่ในรูปฮิวมัส เปลี่ยนจากรูปสารอินทรีย์ไปเป็นอนินทรีย์ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของ ธาตุอาหารพืชได้แก่ กระบวนการตรึงไนโตรเจนโดยจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถสร้างอาหารได้ เองโดยใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่น แหนแดง(สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อาศัยอยู่กับพืช ตระกูลเฟิร์น) และจุลินทรีย์บางชนิดที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศและสร้างความอุดม สมบูรณ์ ให้กับดินได้ เช่น เชื้อไรโซเบียม
- จุลินทรีย์บางชนิดมีบทบาทในการสังเคราะห์สารประกอบอนินทรีย์ที่มีโครง สร้างสลับซับซ้อน เช่น จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างกรดอนินทรีย์ที่สามารถละลายแร่ธาตุอาหารพืชใน ดินให้ เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังสามารถผลิตสารต่างๆ รวมถึงสารปฏิชีวนะ เอนไชม์ และกรดแลคติค
จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ถือว่าเป็นพระเอกของเรื่องดินเลยทีเดียว เพราะการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน พร้อมกับไม่ทำลายหน้าดิน โดยการเผา จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ภายในดินเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อไหร่หากเกษตรกร ใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป และไม่เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน จะส่งผลให้ดินไม่มีหรือขาดอาหารของจุลินทรีย์ จึงทำให้จุลินทรีย์ลดน้อยลงไปและตายไปในที่สุด และทำให้ดินไม่มีชีวิตในที่สุด
ลักษณะ ของดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น จะต้องประกอบด้วยสมบัติ 3 ประการ คือ
1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วย ธาตุอาหารพืช หลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซี่ยม ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุอาหารเสริมประกอบด้วย เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม แมงกานีส และ คลอรีน และ มีปฏิกิริยา ของดิน ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือ มีความเค็มจนเกินไป
2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำา กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้าง ที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกัน อย่าง หลวมๆ เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยาย และ ชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหารพืชได้ง่าย ในระยะ ที่กว้าง และ ไกล เป็นดิน ที่อ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง
3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดิน ที่มีความสมดุล ของจุลินทรีย์ กล่าวคือ เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์ ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่ มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นโทษ แก่พืชได้เป็น อย่างดี และ จุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ในดิน สามารถสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่พืชได้ดี เช่น สามารถย่อยแร่ธาตุ ในดิน ที่ ยังไม่เป็นประโยชน์ แก่พืช หรือให้ประโยชน์น้อยให้เป็นประโยชน์ แก่พืช และ เพิ่มปริมาณ ที่ มากขึ้น ตรึงธาตุอาหารพืชจากอากาศให้เป็นประโยชน์ แก่พืช สร้างสารปฏิชีวนะปราบโรค และ ศัตรูพืช ในดินได้ เสริมสร้างพลังให้ แก่พืช และ ทำลายสารพิษ ในดินได้
แหล่งข้อมูลที่มา : http://mueang.saraburi.doae.go.th/kunkum/dindee.pdf